เห็ดตับเต่าเป็นเชื้อรากลุ่ม แอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า

เห็ดตับเต่าเป็นเชื้อรากลุ่ม แอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า

เห็ดตับเต่า

เห็ดตับเต่า หรือเห็ดที่เราเห็นในธรรมชาติทั่วไปเป็นพวกเชื้อรา แต่เป็นเชื้อราที่กินได้ครับ ส่วนคำว่า "mycorrhiza" มาจากภาษากรีกว่า Mykes แปลว่า Mushroom หรือ fungus รวมกับ คำว่า rhiza
แปลว่า Root.
เห็ดตับเต่าเป็นเชื้อรากลุ่ม แอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า
ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง เชื้อรากับระบบรากของพืชชั้นสูง โดยราที่จะอาศัยรากพืชได้ ต้องไม่ใช่ราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ต้องไม่ใช่ราที่จะไปทำลายรากพืช ในขณะเดียวกันรากพืชก็ต้องเป็นรากที่มีอายุน้อย การอยู่ร่วมกันระหว่างเชื้อรากับรากพืชแบบนี้ เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยเซลล์ของรากพืชและรา สามารถส่งถ่ายสารอาหารให้กันและกันได้อย่างอิสระ นั่นก็คือต้นพืชจะได้รับน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจากรา (เชื้อเห็ด) ส่วนรา (เชื้อเห็ด) ก็จะได้รับสารอาหารจากต้นพืชหรือต้นไม้อาศัยผ่านมาทางระบบราก เช่น พวกน้ำตาล แป้ง โปรตีน และวิตามินต่างๆ นอกจะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันแล้ว ราไมคอร์ไรซายังช่วยป้องกันรากพืช จากการเข้าทำลายของเชื้อโรคต่างๆด้วย
เห็ดตับเต่าเป็นเชื้อรากลุ่ม แอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า
เห็ดตับเต่า ที่เรารับประทานกัน จัดอยู่ในกลุ่ม เอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza) ราเอกโตไมคอร์ไรซ่าเป็นราชั้นสูงที่สามารถสร้างดอกเห็ดได้ดี โดยมีทั้งดอกเห็ดที่กินได้ และดอกเห็ดที่กินไม่ได้ (เห็ดพิษ) โดยรากลุ่มนี้จะสร้างดอกเห็ดเหนือพื้นดินใต้ร่มไม้บริเวณรากผิวดินเพียงเล็กน้อย ซึ่งการอาศัยอยู่ร่วมกันของเชื้อราชนิดนี้กับต้นไม้ มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศน์ของพืชป่าไม้ ตามรากของต้นไม้ในป่าธรรมชาติจะมีเชื้อราไมคอร์ไรซ่ากระจายอยู่ทั่วไป เช่น ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง ป่ายาง และสวนยูคาลิปตัส เป็นต้น